วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

มะคำดีควาย



ชื่อวิทยาศาสตร์   Sapindus emarginatus  Wall.
ชื่อสามัญ   Soap Nut Tree
วงศ์   Sapindaceae
ชื่ออื่น :  มะคำดีควาย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 2-4 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 5-7 ซม. ยาว 10-14 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ดอกแยกเพศ อยู่ต้นเดียวกัน ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวนวล กลีบดอกมี 5 กลีบ ก้านช่อดอกมีขนปกคลุม ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบ หรือมีรอยย่นที่ผลบ้าง ผลสดสีเขียว เมล็ดเดี่ยว
ส่วนที่ใช้
 : ผลแก่ และตากแดดจนแห้ง   ใบ  ราก  ต้น  เปลือก  ดอก  เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ผลแก่  - แก้ไข้ ดับพิษร้อนภายใน ดับพิษทุกอย่าง แก้ไข้แก้เลือด แก้หอบเนื่องจากปอดชื้น ปอดบวม แก้กาฬ แก้โรคผิวหนัง แก้พิษตานซาง แก้เสลดสุมฝีอันเปื่อยพัง แก้จุดกาฬ ผลผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคตัวร้อนนอนไม่หลับ นอนสะดุ้งผวา แก้สลบ แก้พิษ หัด สุกใส แก้ฝีเกลื่อน แก้ปากเปื่อย แก้สารพัดพิษ สรพัดกาฬ แก้ไข้จับเซื่องซึม แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สารพัดไข้ทั้งปวง
  • ใบ - แก้พิษกาฬ ดับพิษกาฬ
  • ราก 
    - แก้ริดสีดวงมองคร่อ แก้หืด
    - รากผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้แก้ฝีในท้อง
  • ต้น - แก้ลมคลื่นเหียน
  • เปลือกต้น
    - แก้กระษัย แก้พิษร้อน แก้พิษไข้
    - เปลือกต้นผสมในตำรับยากับสมุนไพรอื่นใช้แก้ฝีหัวคว่ำ ฝีอักเสบ
  • ดอก - แก้พิษ เม็ดผื่นคัน
  • เมล็ด - แก้โรคผิวหนัง
วิธีใช้และปริมาณ :
         
 ผลประคำดีควาย สุมให้เป็นถ่าน แล้วปรุงเป็นยารบประทาน
          ผลประคำดีควาย ใช้รักษาชันนะตุหัวเด็กได้ ผลต้มแล้วเกิดฟอง สุมหัวเด็กแก้หวัด แก้รังแค ใช้ซักผ้าและสระผมได้
          โดยเอาผลประมาณ 5 ผล ทุบพอแตก ต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วย ทาที่หนังศีรษะ ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย (ระวังอย่าให้เข้าตา จะทำให้แสบตา)
สารสำคัญ คือ
          Quercetin, Quercetin -3 - a - A- arabofuranoside, ß - Sitosterol, Emarginatoside, O - Methyl-Saponin, Sapindus - Saponin
 
  
ที่มา::http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_09_6.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น