วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ว่านชักมดลูก



ชื่อวิทยาศาสตร์   Curcuma xanthorrhiza  Roxb.
วงศ์   ZINGIBERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร หัวใต้ดินขนาดใหญ่ อาจยาวถึง 10 ซม. เนื้อสีส้มถึงสีส้มแดง ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกเหนือดิน รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมใบหอกกว้าง 15 - 20 ซม. ยาว 40 - 90 ซม. มีแถบสีม่วงกว้างได้ถึง 10 ซม. บริเวณกลางใบ ดอกช่อเชิงลด ออกที่บริเวณกาบใบ ก้านดอกยาว 15 - 20 ซม. กลีบดอกสีแดงอ่อน ใบประดับสีม่วง เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แปรรูปคล้ายกลีบดอกสีเหลือง ผลแห้ง แตกได้ 
ส่วนที่ใช้
  เหง้า ราก
สรรพคุณ
 :
  • ราก - แก้ท้องอืดเฟ้อ
  • เหง้า 
    - เป็นยาบีบมดลูก ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วหลังจากการคลอดบุตร ทำให้ประจำเดือนมาปกติ ขับประจำเดือนในกรณีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ รักษาโรคมดลูกพิการปวดบวม
    - แก้ปวดมดลูก
    - แก้ริดสีดวงทวาร
    - แก้ไส้เลื่อน
    - ขับเลือด ขับลม ขับน้ำคาวปลา แก้โรคลม
    - รักษาอาการอาหารไม่ย่อย

มะคำดีควาย



ชื่อวิทยาศาสตร์   Sapindus emarginatus  Wall.
ชื่อสามัญ   Soap Nut Tree
วงศ์   Sapindaceae
ชื่ออื่น :  มะคำดีควาย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 2-4 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 5-7 ซม. ยาว 10-14 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ดอกแยกเพศ อยู่ต้นเดียวกัน ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวนวล กลีบดอกมี 5 กลีบ ก้านช่อดอกมีขนปกคลุม ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบ หรือมีรอยย่นที่ผลบ้าง ผลสดสีเขียว เมล็ดเดี่ยว
ส่วนที่ใช้
 : ผลแก่ และตากแดดจนแห้ง   ใบ  ราก  ต้น  เปลือก  ดอก  เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ผลแก่  - แก้ไข้ ดับพิษร้อนภายใน ดับพิษทุกอย่าง แก้ไข้แก้เลือด แก้หอบเนื่องจากปอดชื้น ปอดบวม แก้กาฬ แก้โรคผิวหนัง แก้พิษตานซาง แก้เสลดสุมฝีอันเปื่อยพัง แก้จุดกาฬ ผลผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคตัวร้อนนอนไม่หลับ นอนสะดุ้งผวา แก้สลบ แก้พิษ หัด สุกใส แก้ฝีเกลื่อน แก้ปากเปื่อย แก้สารพัดพิษ สรพัดกาฬ แก้ไข้จับเซื่องซึม แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สารพัดไข้ทั้งปวง
  • ใบ - แก้พิษกาฬ ดับพิษกาฬ
  • ราก 
    - แก้ริดสีดวงมองคร่อ แก้หืด
    - รากผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้แก้ฝีในท้อง
  • ต้น - แก้ลมคลื่นเหียน
  • เปลือกต้น
    - แก้กระษัย แก้พิษร้อน แก้พิษไข้
    - เปลือกต้นผสมในตำรับยากับสมุนไพรอื่นใช้แก้ฝีหัวคว่ำ ฝีอักเสบ
  • ดอก - แก้พิษ เม็ดผื่นคัน
  • เมล็ด - แก้โรคผิวหนัง
วิธีใช้และปริมาณ :
         
 ผลประคำดีควาย สุมให้เป็นถ่าน แล้วปรุงเป็นยารบประทาน
          ผลประคำดีควาย ใช้รักษาชันนะตุหัวเด็กได้ ผลต้มแล้วเกิดฟอง สุมหัวเด็กแก้หวัด แก้รังแค ใช้ซักผ้าและสระผมได้
          โดยเอาผลประมาณ 5 ผล ทุบพอแตก ต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วย ทาที่หนังศีรษะ ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย (ระวังอย่าให้เข้าตา จะทำให้แสบตา)
สารสำคัญ คือ
          Quercetin, Quercetin -3 - a - A- arabofuranoside, ß - Sitosterol, Emarginatoside, O - Methyl-Saponin, Sapindus - Saponin
 
  
ที่มา::http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_09_6.htm

ทับทิม




ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Punica granatum  L.
ชื่อสามัญ :   Pomegranate , Punica apple
วงศ์ :    Punicaceae
ชื่ออื่น :   พิลา (หนองคาย) พิลาขาว มะก่องแก้ว (น่าน) มะเก๊าะ (เหนือ) หมากจัง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น หรือพรรณไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ลักษณะผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ส่วนที่เป็นกิ่งหรือยอดอ่อนจะเป็นเหลี่ยม หรือ มีหนามแหลมยาวขึ้น ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี โคนใบมน แคบ ส่วนปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวหลังใบ เกลี้ยงเป็นมัน ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นใบได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 - 1.8 ซม. ยาว ประมาณ 2.5 - 6 ซม. ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด
ส่วนที่ใช้ :  ใบ ดอก เปลือกผลแห้ง เปลือกต้นและเปลือกราก เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ใบ - อมกลั้วคอ ทำยาล้างตา
  • ดอก - ใช้ห้ามเลือด
  • เปลือกและผลแห้ง
    -
    เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน แก้บิด
    -
    แก้โรคลักกะปิดลักกะเปิด
  • เปลือกต้นและเปลือกราก
    -
    ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด , พยาธิตัวกลม
  • เมล็ด - แก้โรคลักกะปิดลักกะเปิด
วิธีและปริมาณที่ใช้
1.     ถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิตัวกลม ได้ผลดี
ใช้เปลือกสดของราก , ต้น ที่เก็บใหม่ๆ 60 กรัม หรือประมาณ 1/2 กำมือ เติมกานพลูหรือกระวานลงไปเล็กน้อย เพื่อแต่งรส ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ (30 ซี.ซี.) หลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมง รับประทานยาถ่าย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะตาม ควรอดอาหารก่อนรับประทานยา
 
2.     ยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ไม่ใช่บิด หรือ อหิวาตกโรค)
ใช้เปลือกผล ตากแดดให้แห้ง ประมาณ 1/4 ของผล ฝนกับน้ำฝนหรือน้ำปูนใสให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง หรือต้มกับน้ำปูนใส แล้วดื่มน้ำที่ต้มก็ได้
 
3.     บิด (มีอาการปวดเบ่ง และมีมูก หรืออาจมีเลือดด้วย)
ใช้เปลือกผลแห้งของทับทิม ครั้งละ 1 กำมือ (3-5 กรัม) ต้มกับน้ำ ดื่มวันละ 2 ครั้ง อาจใช้กานพลูหรืออบเชยแต่งกลิ่นให้น่าดื่มก็ได้
สารเคมี
          
เปลือกผลมีรสฝาด เนื่องจากมี tannin 22-25% gallotannic acid สารสีเขียวอมเหลือง รากมีสารอัลคาลอยด์ ชื่อ pelletierine และอนุพันธ์ของ pelletierine
คุณค่าด้านอาหาร
         
ทับทิมใช้รับประทานเป็นผลไม้รสหวาน หรือเปรี้ยวหวาน มีวิตามินซี และแร่ธาตุหลายตัว ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และบำรุงฟันให้แข็งแรง


กระบือเจ็ดตัว




ชื่อวิทยาศาสตร์   Excoecaria cochinchinensis  Lour. var.cochinchinensis

วงศ์  EUPHORBIACEAE

ชื่ออื่น  กำลังกระบือ, ลิ้นกระบือ (ภาคกลาง)  ใบท้องแดง (จันทบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 1.5 ม. มียางขาว ใบเดี่ยว มีทั้งเรียงตรงข้ามและเรียงสลับ รูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 4-12 ซม. ปลายแหลม โคนสอบ ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีม่วงแดงหรือม่วงน้ำตาล เส้นแขนงใบข้างละ 7-12 เส้น ก้านใบยาว 0.5-1.5 ซม. ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกตามง่ามใบ ข้างใบ หรือปลายยอด ยาว 1-2 ซม. ช่อดอกเพศผู้มีดอกเล็กๆ จำนวนมาก โคนก้านดอกมีใบประดับเล็กๆ ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยง 3 กลีบ เล็กมาก เกสรเพศผู้เล็กมาก มี 3 อัน ช่อดอกเพศเมียสั้นกว่าช่อดอกเพศผู้และมีดอกเล็กๆ 3-6 ดอก ก้านดอกยาว 2-5 มม. โคนก้านดอกมีใบประดับเล็กๆ และมีต่อมเล็กๆ สีเหลือง กลีบเลี้ยงเล็ก มี 3 กลีบ รูปไข่ รังไข่เล็ก สีเขียวอมชมพู มี 3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี 3 อัน ผลเล็ก ค่อนข้างกลม มี 3 พู

สรรพคุณ :
  • ใบ  -   ขับน้ำคาวปลาหลังคลอด เป็นยาขับเลือดเน่าสำหรับสตรีในเรือนไฟ
  • ยางจากต้น - เป็นพิษ ใช้เบื่อปลา
วิธีใช้ :  นำใบมาตำกับสุรา คั้นเอาน้ำรับประทาน