วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กระดุมทอง

                                           กระดุมทอง     กระดุมทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wedelia trilobata (L.) Hitchc.
ชื่อวงศ์ : Compositae
ชื่อสามัญ : Climbing wedelia, Creeping daisy, Singapore daisy
ชื่อพื้นเมือง : เบญจมาศเครือ

ลักษณะ: 
ไม้เลื้อยคลุมดิน ลำต้นแตกแขนงทอดเลื้อยไปตามผิวดิน ปลายกิ่งมักชูตั้งขึ้น ลำต้นสีน้ำตาลแดงเรื่อ มีขนประปราย รากแตกตามช่อ

ใบ : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปรีกว้างหรือรูปไข่ กว้าง 2- 5 เซนติเมตร ยาว 5.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเล็กน้อย มีจักเป็นรูปสามเหลี่ยมกลางแผ่นใบทั้ง 2 ข้าง ก้านใบสั้นมาก

ดอก : สีเหลือง ออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง มีใบประดับรูปรีเรียงซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นละ4-5 ใบ ที่ขอบใบประดับมีขน ดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมียมี 8-10 ดอก โคนกลีบดอกวงนอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายกลีบแยกเป็น 3 แฉก ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีขนาดเล็กกว่าและจำนวนมากกว่า โคนกลีบดอกวงในเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายกลีบแยกเป็น 5 แฉก

ผล  : ผลแห้ง รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ปลายยอดผลมีเยื่อสีขาวรูปถ้วย เมล็ดล่อน รูปสามเหลี่ยมปลายแหลม สีดำเป็นมัน

สรรพคุณ :
ส่วนยอดของต้นกระดุมทองเลื้อย นำมารับประทานแกล้มกับลาบ และจากการศึกษาสรรพคุณของกระดุมทองเลื้อย ในด้านนำมาใช้ประโยชน์ด้านพืชสมุนไพรมีการค้นพบสรรพคุณว่าสามารถนำมารับประทานเพื่อลดกรดในกระเพาะอาหาร จากการศึกษาพบว่าระดับค่า pH ของการจำลองสภาพกรดในกระเพาะอาหาร มาตรวจวัดหาค่า pH แล้วนำมาเปรียบเทียบ กับน้ำกระดุมทอง จากผลการทดลองพบว่ากระดุมทองเลื้อยมีค่า pH ที่ใกล้เคียงกับยาลดกรดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งน้ำกระดุมสดมีค่า pH ที่ใกล้เคียงกับยาลดกรดมากกว่าน้ำกระดุมทองแห้ง


วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มะหาด


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus lakoocha Roxb. วงศ์ : Moraceae

ชื่ออื่น : กาแย ขนุนป่า ตาแป ตาแปง มะหาดใบใหญ่ หาดหนุน หาด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 15-25 เมตร ลำต้นตั้งตรง ผิวเปลือกนอกค่อนข้างขรุขระสีน้ำตาลดำ หรือสีเทาแกมน้ำตาล บริเวณเปลือกของลำต้นมักมีรอยแตก และยางไหลซึมออกมาติดต้น ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปยาวรี ปลายแหลม โคนเว้ามน กว้าง 5-12 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยเล็กๆ ใบแก่ขอบมักเรียบ หูใบเรียวแหลม ดอก ช่อกลมเล็กๆ สีเขียวอมเหลือง ขนาดเล็ก ออกตามง่ามใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละช่อ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวเมียกลีบค่อนข้างกลมมน โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกตัวผู้กลีบเป็นรูปขอบขนานปลายกลีบหยัก ยาว 0.5-1 เซนติเมตร ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ เมษายน ผล เป็นผลรวม กลมแป้นใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 เซนติเมตร เปลือกนอกผิวขรุขระ เนื้อผลค่อนข้างนุ่ม สีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาลเหลือง เมล็ด แต่ละผลมี 1 เมล็ด รูปรี ติดผลเดือนมีนาคม - พฤษภาคม

ส่วนที่ใช้ : แก่นต้นมะหาด อายุ 5 ปีขึ้นไป ราก เปลือก

สรรพคุณ : แก่น - ให้ปวกหาด ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด และพยาธิไส้เดือน ละลายกับน้ำ ทาแก้ผื่นคัน แก่นเนื้อไม้ - แก้ขุกแน่น แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับลม ผายลม แก้ผื่นคัน แก้ตานขโมย เป็นยาระบาย ถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลม ถ่ายพยาธิเส้นด้าย ถ่ายพยาธิตัวตืด ขับเลือด แก้ลม ถ่ายพยาธิตัวแบน แก้กระษัย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ท้องผูกไม่ถ่าย
แก่น - แก้โรคกระษัยไตพิการ แก้กระษัยดาน แก้กระษัยเสียด แก้กระษัยกล่อน แก้กระษัยลมพานไส้ แก้กระษัยทำให้ท้องผูก แก้ดวงจิตขุ่นมัว ระส่ำระสาย แก้นอนไม่หลับ แก้เบื่ออาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปัสสาวะกระปริบกระปรอย ถ่ายพยาธิ พยาธิตัวตืด แก้ท้องโรพุงโต แก้จุกผามม้ามย้อย แก้ฝีในท้อง แก้ปวด แก้เคือง กระจายโลหิต
ราก - แก้ไข้ แก้กระษัยเส้นเอ็น ขับพยาธิ แก้ไข้เพื่อฝีภายใน แก้พิษร้อน
เปลือก - แก้ไข้

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
 ผงปวกหาด เตรียมได้โดยการเอา แก่นมะหาดมาต้มเคี่ยวด้วยน้ำไปนานจนเกิดฟองขึ้น แล้วช้อนฟองขึ้นมาตากแห้ง จะได้ผงสีเหลือง นำมาบดให้เป็นผงละเอียด ขนาดรับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา (ประมาณ 3-5 กรัม) รับประทานกับน้ำสุกเย็น ก่อนอาหารเช้า หลังจากรับประทานยาปวกหาดแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ให้รับประทานดีเกลือ หรือยาถ่ายตาม เพื่อระบายท้อง จะถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิไส้เดือนออกหมด

สำหรับผู้ถ่ายพยาธิตัวตืด ใช้ผงมะหาด 1 ช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ รับประทานครั้งเดียว อีก 2 ชั่วโมงต่อมาให้รับประทานยาถ่ายตาม 

สำหรับเด็ก ใช้ยาครึ่งช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ รับประทานครั้งเดียว อีก 2 ชั่วโมงต่อมาจึงรบประทานยาถ่ายตาม อาการข้างเคียง ผู้ป่วยบางราย มีอาการแพ้ มีผื่นคันขึ้นทั้งตัว หน้าแดง ผิวหนังแดง คัน ตาแดง มีไข้ อาการจะหายไปภายใน 1-2 วัน ข้อควรระวัง : ห้ามรับประทานผงปวกหาดกับน้ำร้อน จะทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ สารเคมี : ที่พบในมะหาด

ที่มา :: http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_04_5.htm

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับสู่ชมรมอนุรักษ์สมุนไพรไทย สาขาพุทธมณฑลสาย4 สำหรับท่านที่สนใจเรียนรู้เรื่องสมุนไพรไทย การแปรรูป ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ที่อยู่ 4/17 หมู่8 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170 เบอร์โทรศัพท์ 083-716-4223 คุณเบ็ญญาทิพ Email::weewere7@hotmail.com